คำถามที่พบบ่อย
เลือกหัวข้อที่ต้องการคำตอบ
การใช้ยาอื่นๆร่วม ในระหว่างการรักษา
เราสามารถใช้ Prednisolone หรือ Steriod ได้หรือไม่
ให้ดูตามอาการ หากแมวอาการทรุดมากๆ และจำเป็นต้องใช้เวลาในการรอผลวินิจฉัย สามารถให้ Prednisolone หรือ Steriod ได้ แต่ต้องวางแผนการใช้ให้จบภายใน 14 วันแรกของการฉีด GS-441524
ทำไมถึงห้ามใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Fluoroquinolone
เนื่องจากยากลุ่ม Fluoroquinolone เช่น Baytrill, Zeniquin, Veraflox/ Pradofloxacin และ Orbax เป็นยาที่มีส่วนผสมของฟูออรีน ซึ่งฟูออรีนสามารถแทรกซึมเข้าระบบประสาท และทำให้ FIP ยกระดับเป็น Neurological ได้
ทำไมถึงห้ามทานยาและอาหารเสริมภูมิคุ้มกันเช่น L-Lysine, Beta Glucan, Interferon
โรค FIP แตกต่างจากโรค FeLV, FIV, FPV เนื่องจากโรคอื่นๆนั้นจะทำให้ CMI และ HMI ต่ำจึงจำเป็นต้องให้ยาและอาหารเสริมกระตุ้นภูมิ แต่ในทางกลับกัน FIP นั้นจะทำให้ CMI และ HMI สูงและทำให้ภูมิคุ้มกันนั้นอ่อนไหวง่าย ซึ่งการที่เรากระตุ้มภูมิคุ้มกันเพิ่มเข้าไปจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
อีกสาเหตุหนึ่งคือการทำงานของ L-Lysine และ Beta Glucan นั้นคือการกระตุ้นให้ร่างกายแมวสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนของไวรัส เนื่องจาก FIPV แบ่งตัวผ่านเซลล์นั่นเอง
หากพบว่าแมวมีโรคประจำตัวเช่น FeLV, FIV, FVP ร่วมกับ FIP สามารถใช้ GS-441524 ร่วมได้หรือไม่
สามารถรักษาได้ร่วมระหว่างการใช้ GS-441524 ได้แต่ความสำเร็จในการรักษา FIP จะลดลงตามตารางนี้
สามารถใช้ยาถ่ายพยาธิ, ยาลดไข้, ยาแก้หวัด ฯลฯ ได้หรือไม่
สามารถใช้ได้ไม่มีปัญหา ยาที่ห้ามจะมีแค่ยากลุ่ม Fluoroquinolone เท่านั้น
สามารถทำเคมีบำบัดกับแมวระหว่างใช้ GS-441524 ได้หรือไม่
สามารถทำได้ โดยให้พักการฉีด GS เป็น 36-48 ชม. หลังเสร็จจากการทำเคมีบำบัดเพื่อดูว่ามีอาการกำเริบหรือไม่
ทำไมถึงห้ามใช้ยาหยดเห็บหมัด
ไม่มีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่ายาหยดเห็บหมัดมีผลขัดกันกับการทำงานของ GS-441524 แต่เนื่องจากยาหยดเห็บหมัดมีการดูดซึมผ่านไขมันและเข้าสู่ระบบประสาท ซึ่งอาจเป็นการเปิดช่องให้กับ FIPV ในการเข้าสู่ระบบประสาทได้เช่นกัน ดังนั้นหากต้องการใช้ แนะนำให้สังเกตว่ามีอาการทรุดลงและพัฒนาขึ้นเป็น FIP Neurological หรือไม่หลังจากหยดยา ถ้ามีต้องทำการปรับ Dose ยาขึ้นเป็น 10mg/kg
หากแมวเป็นเชื้อราที่ผิวหนังสามารถใช้ Spray Nano ได้หรือไม่
สามารถใช้รักษาได้ แต่ควรระวังอาการแพ้
การรักษาแม่แมวที่ตั้งครรภ์
แมวที่ตั้งท้องระหว่างเป็น FIP จำเป็นต้องหยุดยา GS-441524 หรือไม่
ไม่จำเป็น สามารถดำเนินการฉีดจนจบ 84 วัน แต่จำเป็นต้องดูแลและบำรุงแม่แมวอย่างใกล้ชิดหลัง คลอด โดยเฉพาะแม่แมวที่ออกลูกดก(มากกว่า 4 ตัว) เพราะแม่แมวจะเหนื่อยและเครียดซึ่งอาจทำให้ FIP กำเริบได้
แม่แมวที่อยู่ระหว่างการรักษาโดยให้ GS-441524 แล้วให้นมลูก ลูกจะมีผลกระทบหรือได้ภูมิคุ้มกันโรค FIP หรือไม่
ลูกแมวจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากนมน้ำเหลือของแม่แมว สำหรับภูมิคุ้มกัน FIP ที่ลูกจะได้จากแม่ในส่วนนี้เรายังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันเนื่องจากเป็นเคสที่พบได้ยากมากๆ ทำให้มีตัวอย่างในการศึกษาน้อย ซึ่งลูกแมวอาจจะได้รับหรือไม่ได้ภูมิคุ้มกันโรค FIP ขึ้นอยู่กับว่าแม่แมวจะส่งต่อภูมิคุ้มกันอะไรผ่านนมน้ำเหลืองให้กับลูก
หากแม่แมวที่เป็น FIP คลอดลูกออกมาแล้วลูกเป็น FIP สามารถรักษาลูกด้วย GS-441524 ได้หรือไม่
สามารถรักษาได้โดยการคำนวณปริมาณยาตามน้ำหนักของลูกแมว แต่ต้องเข้าใจว่าโอกาสที่ลูกแมวจะรอดนั้นต่ำมากๆ โดยเฉพาะลูกแมวที่เป็น FIP ภายใน 1-4 สัปดาห์หลังคลอด
การกำเริบและกลับมาเป็นซ้ำ
หากแมวมีอาการกำเริบควรทำอย่างไร
ซักประวัติว่าก่อนหน้านี้เป็น FIP แบบใดหยุดฉีดยา A/G Ratio ได้เท่าไหร่ จบการฉีดยาเมื่อไหร่ ซึ่งจะแบ่งตามสถานการณ์ดังนี้
-
อาการกำเริบหลังจากหยุดฉีดยาโดยไม่ได้รับการตรวจร่างกายเพื่อจบการฉีดยา
ให้ตรวจสอบว่าเป็น FIP แบบใดและ Dose ตามอาการเดิมโดยเริ่มการรักษาใหม่อีก 84 วัน -
อาการกำเริบเกิดขึ้นระหว่างระยะสังเกตอาการ
ให้ตรวจสอบกว่าก่อนหน้านี้เป็น FIP แบบใดและทำการ +2mg/kg จากโดสเดิมที่เคยใช้รักษา โดยทำการตรวจเลือดทุก 14 วันจนกว่า A/G จะถึง 0.7 และทำการตรวจร่างกายเพื่อจบการฉีดยา -
อาการกำเริบเกิดขึ้นหลังจากจบระยะสังเกตอาการ 1-3 เดือน
ให้ตรวจสอบกว่าก่อนหน้านี้เป็น FIP แบบใดและทำการ +2mg/kg จากโดสเดิมที่เคยใช้รักษา โดยทำการตรวจเลือดทุก 14 วันจนกว่า A/G จะถึง 0.7 และทำการตรวจร่างกายเพื่อจบการฉีดยา -
อาการกำเริบเกิดขึ้นหลังจากจบระยะสังเกตอาการไม่น้อยกว่า 4 เดือน
ทำการรักษาใหม่ตามอาการตั้งแต่ต้น และตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้แมวเป็นโรค FIP อีก
สำหรับเคสที่กลับมาเป็นซ้ำ คุณควรตรวจสอบปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุทำให้แมวกลับมาเป็น FIP อีกครั้งเช่น สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู, กิจกรรมที่ทำร่วมกันบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันกิจกรรมที่อาจจะเป็นเหตุให้แมวภูมิคุ้มกันตกจนเกิดอาการกำเริบหรือเป็นซ้ำได้อีกครับ
FIP รูปแบบผสม (Unclassical FIP)
หากแมวมีอาการ FIP แบบผสมควรรักษาอย่างไร
ในการรับมือกับแมวที่เป็นโรค FIP แบบ Unclassical เราจะมุ่งเน้นไปที่การปรับโดสยาตามอาการซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
-
เริ่มเป็น Wet FIP แล้วพัฒนาเป็น Dry FIP
ให้ใช้โดส 8mg/kg ตามอาการของ Dry FIP -
เริ่มเป็น Wet FIP หรือ Dry FIP แล้วพัฒนาเป็น Ocular/Neurological
ให้ใช้โดส 10mg/kg ตามอาการของ Ocular/Neurological -
เริ่มเป็น Dry FIP แล้วพัฒนาเป็น Wet FIP (ไม่ค่อยพบระหว่างการรักษา จะพบได้ว่าเป็นอาการกำเริบ)
ให้ใช้โดสเดิมคือ 8mg/kg ไม่มีการลดโดสลง
หากแมวมี WBC ต่ำและลดลงเรื่อยๆ ตรวจพบ FIP อย่างเดียวไม่พบ FeLV ควรรักษาอย่างไร
ในกรณีนี้แสดงว่า FIPV ได้เริ่มทำลายถึงระดับเม็ดเลือดขาว ทำให้แมวไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมาเองได้ เราจำเป็นจะต้องทำการรักษาโดยใช้ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวควบคู่ไปกับการใช้ GS โดยอาจจะปรับลดปริมาณของ GS ที่จะต้องฉีดลงครึ่งหนึ่งเพื่อไม่ให้มันไปหยุดการสร้างใหม่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว และทำการตรวจเลือดทุกๆ 3 วันเพื่อเช็คว่าได้ผลหรือไม่ แต่โอกาสรอดจากเคสแบบนี้มีน้อยมากๆ
คำถามทั่วไป
วิธีการเก็บยาจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า 3-8℃ ตลอดเวลาหรือไม่
ไม่จำเป็น ตัวยาสามารถอยู่ได้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 45℃ ได้โดยหลีกเลี่ยงแสงแดด หากยังไม่เปิดใช้วันหมดอายุจะอยู่ที่ใต้กล่อง
เราสามารถเปลี่ยนเวลาฉีดยาได้หรือไม่
สามารถทำได้ เพราะยาจะอยู่ในร่างกายแมวเกิน 24 ชม. แต่พยายามควบคุมให้อยู่ภายใน + - 2ชม. จากเวลาที่ฉีดปกติ
หากยาหมดและลืมสั่งควรทำอย่างไร
แบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้
-
ยังพอเหลือยาอยู่เล็กน้อย ให้แบ่งให้พอฉีดทุกวันจนกว่าจะได้รับยาใหม่ แล้วรีบสั่งยาใหม่
-
หากไม่เหลือยาเลย ควรรีบสั่งยาใหม่ หลังจากกลับมาฉีดต่อให้ทำการนับวันต่อ ไม่จำเป็นต้องเริ่มนับ 1 ใหม่
สามารถเปลี่ยนความเข้มข้นยาระหว่างการรักษาได้หรือไม่
สามารถทำได้ แต่จำเป็นต้องคำนวณปริมาณยาใหม่ตามน้ำหนักเพื่อความต่อเนื่อง สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำนวณให้ได้
สามารถทำการเปลี่ยนยี่ห้อยา GS-441524 ได้หรือไม่
สามารถทำได้ เพราะยา GS-441524 มีเป้าหมายเดียวกันและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่จำเป็นต้องคำนวณปริมาณยาให้ดีเนื่องจากยาแต่ละยี่ห้อมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน นอกจากนี้ต้องดูเรื่องการรับประกันสำหรับอาการกำเริบเพราะแต่ละยี่ห้อจะมีการรับประกันไม่เหมือนกัน
สามารถหยุดฉีดยาก่อนครบ 84 วันได้หรือไม่
แน่นอนว่าการฉีดยาให้ครบ 84 วันนั้นดีที่สุดเพราะจะลดโอกาสที่แมวจะมีอาการกำเริบได้มากที่สุด แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน เราเข้าใจว่าเจ้าของแมวอยากจบการรักษาให้เร็วที่สุดเพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งการหยุดฉีดยาก่อนครบ 84 วันสามารถทำได้ แต่จำเป็นจะต้องมีค่าเลือดอยู่ในค่าปกติ และมีค่า A:G Ration=0.7 ในการตรวจเลือด 2 ครั้งติด พร้อมทั้งทำการตรวจ PCR จากเลือดเพื่อยืนยันว่าในเลือดไม่มี FCoV แล้ว
สามารถหยุดฉีดยาเกิน 84 วันได้หรือไม่ หากยังมียาเหลือ
สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับอาการของน้องแมวที่ได้รับการรักษา