top of page

วิธีการรักษาโรค FIP ด้วย Emune GS-441524

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว (FIP) เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ก็มีความหวังด้วย GS-441524 ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการรักษา FIP คู่มือนี้จะแนะนำคุณเกี่ยวกับขั้นตอนการรักษาน้องแมวด้วย Emune GS-441524

ภาพรวมการรักษา:

GS-441524 เป็นยาฉีดที่ต้องฉีดทุกวันเป็นเวลา 84 วัน การรักษานี้สามารถทำได้โดยสัตวแพทย์หรือทำการรักษาได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตามทั้งสองแบบจะต้องมีการตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อดูผลการรักษา (ดูวิธีการฉีดยาได้ด้วยตัวเองที่นี่)

Checklist ของโรค FIP

"ถ้าพบว่าน้องแมวมีอาการดังต่อไปนี้ แสดวงว่าน้องแมวมีโอกาสที่จะเป็นโรค FIP"

เบื่ออาหาร

น้ำหนักลดลง

เซื่องซึม

ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ

มีไข้

เป็นไข้มาๆหายๆ

มีน้ำในช่องท้อง/อก

หายใจผิดปกติ (FIP แบบเปียก)

ระบบประสาท/ดวงตา

เดินเซหรือเดินลากขา หัวสั่น ชัก หรือดวงตาขุ่นมีเลือดในดวงตา(FIP แบบแห้ง)

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำการรักษา

  1. เนื่องจาก FIP มีอาการที่คล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จึงจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยที่แน่ชัด โดยทำการตรวจดังต่อไปนี้:

    1. ตรวจเลือด(CBC): เม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว, เอ็นไซม์ตับและไต และ โปรตีน Albumin และ Globulin (A:G Ratio < 0.6) มีโอกาสที่จะเป็น FIP สูง

    2. Rivalta test(สำหรับแบบเปียก): สำหรับ FIP รูปแบบเปียกถ้ามีการเจาะน้ำออกมา สามารถทำ Rivalta test ได้ หากนำข้อมูลประกอบกับการตรวจเลือดจะทำให้ยืนยันโรคได้แม่นยำมากขึ้น

    3. RT-PCR: ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส FIP ในตัวอย่างเลือดหรือสารคัดหลั่ง (แนะนำให้ใช้เลือด) อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสที่จะผิดพลาดอยู่ที่ 5% รวมไปถึงเวลาที่พาไปตรวจก็ส่งผลต่อผลเช่นเดียวกันเช่นไปตรวจตอนช่วง Stage แรกของโรค เชื้อยังอ่อนอยู่ทำให้ผลเป็น Negative

  2. เมื่อยืนยันการวินิจฉัยแล้ว ควรระบุรูปแบบของ FIP ที่แมวกำลังเผชิญอยู่ ได้แก่:

    1. FIP เปียก: มีของเหลวสะสมในช่องท้องหรือช่องอก

    2. FIP แห้ง: เกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆ เช่น ตา สมอง หรือไต

    3. FIP ระบบประสาท: มีอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก อัมพาต(ขาหลัง)

    4. FIP ทางตา: มีอาการทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ

    5. FIP แบบไม่จำแนก (พบได้น้อย): มีอาการผสมผสาน หรือไม่ตรงกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

  3. เลือกความเข้มข้นของยา GS-441524 ที่เหมาะสมสำหรับแมว ตามน้ำหนักและอาการของน้องแมว (20mg, 30mg และ 40mg)

ขั้นตอนการรักษา:

  • ยาฉีด: GS-441524 ฉีดชั้นใต้ผิวหนัง สามารถเลือกให้สัตวแพทย์หรือเรียนรู้ที่ฉีดเองก็จะช่วยประหยัดค่ารักษาได้ (เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ GS)

  • ระยะเวลาการรักษา: การรักษาเต็มรูปแบบคือ 84 วัน (จากงานวิจัยของ Dr. Pedersen เป็นระยะที่กำจัดไวรัสได้อย่างมีนัยสำคัญ)

  • เวลาที่สม่ำเสมอ: ควรฉีดยาในเวลาเดียวกันในแต่ละวัน โดยสามารเลื่อนได้ 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังเวลาที่ต้องการ

  • ชั่งน้ำหนักรายสัปดาห์: ตรวจสอบน้ำหนักแมวของคุณทุก 7 วันเพื่อติดตามความคืบหน้าและปรับขนาดยาตามความจำเป็น (เนื่องจากช่วงเริ่มรักษาน้องแมวจะเริ่มกลับมาทานอาหารมากขึ้นทำให้น้ำหนักขึ้นมาเร็วอาจจะทำให้ต้องปรับยาตามขึ้นตามน้ำหนัก)
    *ไม่ควรชั่งน้ำหนักและปรับยาตามน้ำหนักทุกวันเนื่องจากเป็นการทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาลดลง

  • ตรวจเลือดสองสัปดาห์ครั้ง: ควรตรวจเลือดทุกๆ 14 วันเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษาของแมว และพิจารณาว่าจำเป็นต้องปรับขนาดยาก่อนกำหนดหรือไม่

  • การปรับขนาดยา: เพิ่มยา 0.1cc ทุกๆ 14 วัน เพื่อลดอัตตราการกำเริบ และทำให้การรักษาจบเพียงครั้งเดียว เพื่อให้น้องหายดีจะได้ไม่ต้องเจ็บตัวอีกครั้ง

พัฒนาการ การรักษา

WET FORM

  • 1-3 Days: เค้าจะเริ่มทานได้มากขึ้น

  • 4-5 Days: เริ่มมีแรงและเลียแต่งขน

  • 7-15 Days: น้ำในท้องหยุดเพิ่ม และเริ่มลด

  • 30-45 Days: น้ำในท้องหายไปจนหมด(เฉพาะแบบเปียก)

DRY FORM

  • 1-3 Days: เค้าจะเริ่มทานได้มากขึ้น

  • 4-5 Days: เริ่มมีแรงและเลียแต่งขน

สำหรับ FIP ชนิดที่แสดงอาการทางตาและระบบประสาท ระยะเวลาในการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายที่ไวรัสมีต่อระบบประสาท ยิ่งความเสียหายรุนแรงเท่าไหร่ ระยะเวลาในการฟื้นตัวก็จะยิ่งนานขึ้นเท่านั้น

ข้อควรทราบ: แมวแต่ละตัวมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน และอัตราการฟื้นตัวอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความรุนแรงของโรค สุขภาพโดยรวมของแมว และการตอบสนองต่อการรักษาของแต่ละตัว รวมไปถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของเรา

Side Effects

  • แผลผิวเบิร์นที่จุดฉีด เพราะยามีส่วนผสมขอกรด อาจจะทำให้เกิดแผลผิวเบิร์นได้ ซึ่งถ้าเกิดขึ้น เราจะข้ามจุดฉีดนั่น ทำการรักษาแผลที่เกิดขึ้น แผลหายขนจะกลับมาแบบเดิมครับ (ส่วนใหญ่จะเกิดกับน้องแมวที่ผิวบาง หรือน้องที่น้ำหนักเยอะจนต้องใช้ปริมาณยาเยอะ สามารถเพิ่มความเข้มข้นของยาเพื่อลดปริมาณการฉีดได้)

  • ค่าตับจะสูงครับ เนื่องจากใช้ยาหลายตัว แต่ไม่สูงจนเป็นโรคตับนะครับ ให้ยาบำรุงตับ(SAMe) ก็เป็นปกติครับ *การให้ยาจะส่งผลต่อตับทุกรูปแบบจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับน้องแมวต่ละตัว

ข้อควรพิจารณาที่สำคัญ:

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำ: ปฏิบัติตามคำแนะนำของ EMUNE อย่างเคร่งครัด

  • สังเกตน้องแมวอยู่บ่อยๆ: เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความอยากอาหาร พฤติกรรม หรือสุขภาพโดยรวม หากพบว่าผิดปกติให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าหรือสัตวแพทย์ทันที

  • ปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณ: ปกติแล้วน้องแมวที่เป็น FIP จะมีอาการแทรกซ้อนอย่างอาเจียน หรือโลหิตจากถือว่าเป็นอาการปกติของโรค แต่ถ้าน้องมีอาการอื่นๆแทรกซ้อนอย่างเช่น ลิวคีเมีย, เอดส์แมว อวัยวะภายในอักเสบ ให้รักษาตามอาการคู่กันไปได้เลย ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ และปรึกษาเจ้าหน้าที่ของเราเพื่อทราบถึงแนวทางของการรักษาโดยเฉพาะน้องแมวที่เป็นลิวคีเมียและเอดส์แมว

การดูแลแมวหลังการรักษา FIP ด้วย GS

หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา FIP ด้วย GS เป็นระยะเวลา 84 วัน สิ่งสำคัญคือต้องเฝ้าระวังสุขภาพของแมวอย่างต่อเนื่อง ควรมีการตรวจเลือด 2 ครั้ง ในวันที่ 42 และ 84 ของช่วงพักฟื้นเพื่อติดตามผลการรักษา  หลีกเลี่ยงการทำหมันแมวในช่วง 84 วันนี้ (ระยะสังเกตอาการ) และสามารถทำได้หลังจากนั้นโดยต้องตรวจสุขภาพก่อน

การฉีดวัคซีน หยดยาป้องกันเห็บหมัด และการอาบน้ำ สามารถทำได้ตามปกติ แต่ควรตรวจสุขภาพก่อนฉีดวัคซีน เพื่อความปลอดภัย

การดูแลเพิ่มเติม:

เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้แมวเครียด เช่น การเดินทางบ่อยครั้ง การเปลี่ยนอาหารหรือที่อยู่กะทันหัน การอาบน้ำบ่อยเกินไป การรับแมวใหม่เข้าบ้าน การเลี้ยงแมวจำนวนมากในพื้นที่จำกัด หรือการไม่ทำความสะอาดกระบะทราย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้แมวมีความเครียดสะสมและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ซึ่งอาจทำให้ไวรัสกลับมาเป็นซ้ำได้

หากสังเกตเห็นความผิดปกติใดๆ ในแมว ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรักษาสุขภาพแมวให้แข็งแรง

ภาพหน้าจอ 2565-07-20 ที่ 14_edited.png
Specific Treatment
การรักษาแบบเจาะจง
คือการพุ่งเป้าไปที่การยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของไวรัส FIP
ภาพหน้าจอ 2565-07-20 ที่ 14.42_edited.png
Symptomatic Treatment
การรักษาตามอาการ
คือการรักษาผลเสียและอาการที่เกิดขึ้นจากไวรัส FIP
ภาพหน้าจอ 2565-07-20 ที่ 14.42_edited.png
Supportive Treatment
การรักษาแบบประคับประคอง
คือการฟื้นฟูสภาพร่างกายของแมวให้กลับมาปกติเหมือนเดิม

สรุปการรักษาของ Emune

ระยะเวลาการรักษา
84 วัน

ระยะเวลาในการรักษาโรค FIP ด้วย Emune นั้นคือจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 84 วัน โดย

  • ทำการชั่งน้ำหนักทุกๆ 7 วัน เพื่อตรวจดูพัฒนาการการรักษา

  • ทำการตรวจเลือดทุกๆ 14 วัน เพื่อตรวจดูผลเสียจากไวรัส และทำการเพิ่มโดสยา +0.1 มล.

ระยะสังเกตอาการ
84 วัน

หลังจากเสร็จสิ้นการฉีดยา GS-441524 ตามกำหนดแล้ว จำเป็นต้องสังเกตอาการแมวอย่างใกล้ชิด เพื่อยืนยันว่าแมวหายจากโรค FIP ได้สำเร็จ

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาแมวจากโรค FIP คือ การปฏิบัติตามคำแนะนำและแนวทางของ Emune อย่างเคร่งครั

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและโอกาสรอดชีวิตให้แก่แมวของท่าน

bottom of page