top of page

โคโรน่าไวรัสแมว กับ โรคเยื่อบุกระเพาะอักเสบ(FIP) เป็นโรคเดียวกันหรือไม่?

2Cat with Header FCoV vs FIP

โคโรน่าไวรัส และ โรคเยื่อบุกระเพาะอักเสบในแมวต่างก็เกิดจาก ไวรัสโคโรน่าแมว(FCoV) แต่ทั้งสองโรคนั้นเป็นคนละโรคกันและอาการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

Feline Coronavirus (FCoV) โคโรน่าไวรัสแมว

FCoV ไวรัสโคโรน่า เป็นไวรัสที่อยู่ในแมวมากโดยทั่วไป (90% ของแมวทั้งโลกมีไวรัสชนิดนี้อยู่) ปกติแล้วแมวที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าจะไม่ได้แสดงอาการป่วยออกมา อย่างไรก็ตามก็ยังน้องแมวบางส่วนที่ โคโรน่าไวรัสกลายพันธุ์ทำให้ไวรัสเปลี่ยนรูปแบบกลายเป็น FIP หรือที่เราเรียกกันว่าโรคเยื่อบุกระเพาะอักเสบในแมว

Feline Infectious Peritonitis (FIP) โรคเยื่อบุกระเพาะอักเสบในแมว

FIP คือโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้กับแมวทุกช่วงอายุ เกิดขึ้นจากการที่โคโรน่าไวรัส(FCoV) และส่งผลกระทบไปยังอวัยวะทั่วร่างกาย โดยเฉพาะ ช่องท้อง, ช่องอก และหัวสมอง โดยโรคเยื่อบุกระเพาะอักเสบจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Effusive FIP หรือ FIP แบบเปียก และ NON-Effusive FIP หรือ FIP แบบแห้ง

  • Effusive FIP(FIP แบบเปียก): FIP ประเภทนี้ แมวจะเริ่มสะสมน้ำไว้บริเวณท้อง หรือช่องอก ส่งผลให้น้องแมวหายใจลำบาก เริ่มไม่อยากอาหารและน้ำหนักลดลง หรือศึกษาข้อมูล FIP แบบเปียกเพิ่มเติมได้จากบทความ FIP แบบเปียก

  • Non-Effusive FIP(FIP แบบแห้ง): ส่งผลไปหลายๆส่วนของร่างกายแมว ทำให้มีไข้ ตัวเหลือง ไม่อยากอาหาร และน้ำหนักลด ในบางกรณี อาจจะมี อาการทางดวงตา หรือระบบประสาทร่วมด้วย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ FIP แบบแห้ง

ความแตกต่างระหว่าง โคโรน่าไวรัส และ FIP

​คุณสมบัติ

Coronavirus(FCoV)

FIP

ความแพร่หลาย

ทั่วไปในแมว (90% ของแมว)

​พบได้ยาก (น้อยกว่า 5%)

อาการ

โดยทั่วไปแล้วไม่พบอาการ หรือท้องเสียในบางตัว

​รุนแรงและอันตรายถึงชีวิต

​สาเหตุ

ยังไม่สามารถระบุที่มาของเชื้อได้

FCoV กลายพันธุ์กลายเป็น FIP

​อวัยวะที่ได้รับผลกระทบ

​ระบบทางเดินอาหาร

​อวัยวะทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบที่ หน้าท้อง ปอด ระบบประสาท และสมอง

​การแพร่เชื้อ

​ติดต่อได้จากการสัมผัสอุจาระที่ติดเชื้อ

​พบได้ยาก

​การรักษา

​ไม่มีแนวทางเฉพาะเจาะจง

​ประคองอาการคู่กับการให้ยาต้านไวรัส

แนวทางการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้น้องแมวติด FCoV และ FIP

ปัจจุบันยังไม่มีวันซีนสำหรับป้องกันการแพร่กระจายของโคโรน่าไวรัสหรือ FCoV แต่มีแนวทางในการหลีกเลี่ยง ดังนี้

  • ลดความเครียด: ความเครียดสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ส่งผลทำให้ FCoV กลายพันธุ์กลายเป็น FIP

  • สภาพแวดล้อมและความสะอาด: ทำความสะอาดทรายแมวและนำกระบะทรายแมวไปตากแดดบ่อยๆ รวมไปถึงภาชนะที่ให้อาหารและน้ำความจะทำความสะอาดสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงความแออัด: พื้นที่ในการเลี้ยงไม่เหมาะสมกับจำนวนของน้องแมว ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะติด FCoV รวมไปถึงการแย่งพื้นที่กันทำให้เกิดความเครียดจนกลายเป็น FIP ได้

  • ตรวจสุขภาพหรือรีบพบสัตวแพทย์เมื่อน้องมีอาการป่วย: ควรพาน้องไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือเมื่อมีอาการป่วยจะทำให้โอกาสในรักษาและหลีกเลี่ยงการสูญเสียได้มากขึ้น

ดังนั้นแล้ว FCoV เป็นเพียงแค่ไวรัสที่พบได้ทั่วไปในแมว ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ผ่านทางอุจาระ หากน้องแมวไม่ได้มีอาการเครียดจนภูมิตกไวรัสดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ แต่ถ้าน้องภูมิตกก็อาจจะทำให้ไวรัสกลายพันธุ์กลายเป็น FIP ได้ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำปรึกษา

ดู 780 ครั้ง
bottom of page