FIP แมวคืออะไร? อาการ สาเหตุ
- EMUNE
- 13 มิ.ย. 2566
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 21 มิ.ย. 2567

FIP แมวคืออะไร?
FIP หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (Feline Infectious Peritonitis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา (FCoV) ซึ่งเป็นไวรัส RNA ที่พบได้บ่อยในแมว แม้ว่าแมวส่วนใหญ่จะสามารถกำจัดเชื้อ FCoV ได้เองหรือ ภูมิคุ้มกันของน้องแมวปกติ FCoV ก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่น้องแมว แต่ถ้าภูมิตกไวรัสจะกลายพันธุ์เป็น FIPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค FIP นั้นเอง
สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตก
การที่น้องแมวภูมิตกนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความเครียดซึ่งแต่ตัวจะมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน โดยที่เราพบทั่วไปคือ
ความสะอาดโดยเฉพาะกระบะทราย
การเลี้ยงรวมกันหลายตัวโดยขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอ หรือมีการขู่กัน
มีโรคประจำตัวอย่างลิวคีเมียหรือเอดส์แมว
การเดินทางไกล
เสียงรบกวน
อาบน้ำบ่อยมากเกินไป
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลทำให้น้องแมวเกิดความเครียด เจ้าของน้องต้องคอยดูว่าน้องตอบสนองกับกิจกรรมไหน เพื่อหลีกเลี่ยงให้น้องแมวไม่เกิดความเครียด
อาการของโรค FIP ในแมว
อาการของ FIP ในแมวจะแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก:
FIP แบบเปียกมีลักษณะเด่นคือการสะสมของเหลวในช่องท้องหรือช่องอก ทำให้ท้องบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอาการอื่นๆที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้
เบื่ออาหารหรือทานอาหารน้อยลง
น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เซื่องซึม ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ
หายใจลำบาก เนื่องจากน้ำไปเบียดปอด
มีไข้
FIP แบบแห้งเกิดจากการอักเสบเรื้อรังในอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งยากต่อการสังเกตจากภายนอก ซึ่ง FIP แบบแห้งจะอันตรายกว่าแบบเปียกเนื่องจากสามารถเข้าไปยังระบบประสาท, ดวงตา และสมองได้ อาการที่พบได้ใน FIP แบบแห้งมีดังนี้
เบื่ออาหารหรือทานอาหารน้อยลง
น้ำหลักตัวลดลง
เซื่องซึม ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ
มีไข้
มีปัญหาที่ดวงตา (Ocular) ดวงตาขุ่น, มีเลือดคั่งในตา, ในบางกรณีมองไม่เห็น
มีปัญหาที่ระบบประสาท (Neurological) ขาหลังอ่อนแรง เดินเซ
หากไวรัสขึ้นสมองจะพบอาการชัก (อันตราย)
การวินิจฉัย
โรค FIP ในแมวเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ปัจจุบันสามารถตรวจวินิจฉัย FIP นั้นต้องใช้ข้อมูลหลายๆส่วนประกอบกันไม่ว่าจะเป็น
อาการที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น
ผลตรวจเลือด CBC (จำเป็นต้องตรวจโปรตีน Albumin Globulin ด้วย)
Rivalta Test (เฉพาะ FIP แบบเปียก)
RT-PCR (แม่นยำที่สุด)
การรักษา
ปัจจุบันสามารถทำการรักษา FIP ได้แล้ว แต่โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดเมื่อรักษาหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นได้ สามารถศึกษาแนวทางการรักษา FIP ได้จาก วิธีการรักษา FIP ในแมว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line OA: @emunefipth
Facebook: Emune Thailand
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำปรึกษา