เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ FIP
โรค Feline Infectious peritonitis หรือ โรค FIP แมว เป็นอีกหนึ่งโรคที่สำคัญในแมว สามารถพบได้ทั่วโลกและในทุกช่วงอายุของแมว ถ้าพบแล้วไม่รีบรักษาส่งผลอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุของโรค FIP
เกิดจากน้องแมวภูมิตกทำให้ภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอที่จะป้องกันตนเองจากไวรัส ทำให้ไวรัสโคโรน่า(FCoV) กลายพันธุ์กลายเป็น FIPV
โดยไวรัส FIP จะอาศัยและเพิ่มจำนวนเซลล์ จนเข้าสู่กระแสเลือด(หลอดเลือด) ส่งผลร้ายให้แก่น้องแมว ซึ่งอาการจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละตัวขึ้นอยู่กับไวรัสเข้าไปที่ส่วนไหน
อาการของโรค FIP แบบแห้ง
โรค FIP แบบแห้งนั้น จะพบได้บ่อยในน้องแมวที่มีน้ำหนักน้อย โดยจากลักษณะภายนอกแล้ว ดูเหมือนแมวป่วยทั่วไป ไม่เหมือนกับ FIP แบบเปียกที่จะมี ลักษณะท้องป่องให้เห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามนอกเหนือจาก FIP แบบแห้งนั้น ไวรัส FIP นั้นยังสามารถเข้าไปยังระบบประสาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะ 2 ส่วนดังนี้
FIP แบบแห้ง ไวรัสขึ้นดวงตา (Ouclar): ดวงตาจะขุ่น มองไม่เห็น หรือ มีเลือดคั่งในดวงตา
FIP แบบแห้ง ไวรัสขึ้นระบบประสาท (Nuerological): เดินเซจากขาหลัง ขาหลังไม่มีแรง เดินด้วยขาคู่หน้าอย่างเดียวนอกจากนี้ยังมีโอกาสที่ไวรัสขึ้นสมองส่งผลทำให้เกิดอาการชักได้(รุนแรง)
แล้วจะรู้ได้ไงว่าน้องเป็น FIP แบบแห้ง (การวินิจฉัยโรค)
ในปัจจุบันการวินิจฉัยโรค FIP ยังไม่สามารถฟันธงได้ 100% ซึ่งต้องใช้ข้อมูลหลายส่วนประกอบ
อาการต่อไปนี้ เป็นอาการของน้องแมวที่มีโอกาสที่จะเป็นโรค FIP
เบื่ออาหาร ไม่ยอมทานอาหาร
ไม่ร่าเริง ซึมๆ ไม่ยอมเล่น
กรณีที่มีอาการทางระบบประสาทหรือดวงตา
เดินเซๆ ทรงตัวไม่ค่อยได้
เดินลากขา
หัวสั่น หรือชัก
ดวงตาขุ่นหรือมีเลือดคั่งในตา
การตรวจเลือด(CBC: Complete blood count) หรือ RT-PCR
หากตรวจ CBC แล้วพบว่า AG Ratio ต่ำกว่า 0.6 ก็มีโอกาสที่น้องแมวจะเป็น FIP สูง
ซึ่ง FIP แบบแห้งนั้น ถ้าไม่ได้มีอาการไวรัสขึ้นดวงตา หรือไวรัสขึ้นระบบประสาท จะสังเกตได้ยากเนื่องจาก จะมีอาการคล้ายๆแมวป่วยทั่วไป แต่หลังจากได้ตรวจเลือด ก็พบว่าน้องติดไวรัส FIP ไปแล้ว
การรักษาโรค
การรักษาโรค FIP นั้นปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา GS-441524
โดยจะให้ยาที่ชั้นใต้ผิวหนังเป็นเวลา 84 วัน จำนวนวันนี้มาจากงานวิจัยของ Dr. Pedersen ผลของงานวิจัยระบุไว้ว่าเป็นระยะเวลาที่สามารถป้องกันการกำเริบได้ดีที่สุด โดย
FIP แบบแห้งนั้นจะเริ่มต้นฉีด GS-441524 ที่โดส 8mg/kg (ต่อน้ำหนักน้องแมว)
FIP แบบแห้งขึ้นระบบประสาทหรือดวงตาจะเริ่มต้นฉีด GS-441524 ที่โดส 10 mg/kg (ต่อน้ำหนักน้องแมว)
ถ้าหากครบ 84 วันแล้วยังพบว่า A/G Ratio ยังอยู่ในโซนอันตรายอยู่ (<0.6) ก็จะมีการพิจารณาให้ยาต่อไปอีก 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามโรคนี้เป็นโรคที่ต้องแข่งกับเวลา ถ้าหากตัดสินใจรักษาช้าก็ซึ่งโอกาสที่จะรักษาก็จะน้อยลงไป
หากสงสัยว่าน้องแมวเป็น FIP หรือต้องการทำการรักษาสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้
วิธีการป้องกันโรค
ปัจจุบันนั้นยังไม่มีวิธีที่ป้องกันโรคได้ 100% แต่เราสามารถลดโอกาสเกิดขอโรคได้ด้วยการที่ทำให้ไม่ให้น้องแมวเกิดความเครียดจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตก
หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยของน้องแมว
ทำความสะอาดกระบะทรายให้บ่อยมากขึ้น
สังเกตกิจกรรมที่น้องแมวไม่ค่อยชอบและหลีกเลี่ยงกิจกรรมนั้น
อย่างไรก็ตามถ้าหากพบว่า น้องแมวป่วยแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือ รีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วจะดีที่สุดเนื่องจากโรค FIP ยิ่งเริ่มต้นรักษาได้เร็วโอกาสที่จะหายก็จะสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะอาการทางระบบประสาทที่บ่อยครั้งหลังรักษาโรค FIP หายไปแล้ว แต่ระบบประสาทที่ถูกไวรัสทำลายไปไม่กลับมา 100% เช่นการทรงตัวทำให้ยังเดินเซอยู่ ก็ต้องทำกายภาพเพื่อรักษาอาการดังกล่าวต่อไป