top of page

FIP แมวรักษาหายไหม?

Cover_cat_sleeping_with_topic_is_it_possible_to_cure_fip_in_cat
โรค FIP แมว เป็นโรคที่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิตน้องแมว ถ้าไม่เริ่มรักษาก็จะอยู่ได้ไม่นานขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของน้องแมวแต่ละตัว
ปัจจุบันโรคเยื่อบุกระเพาะอักเสบในแมว หรือ FIP สามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าหากไม่ปรับวิธีหรือสาเหตุที่ทำให้น้องแมวเครียดจนภูมิตก ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง

ซึ่งปัจจุบัน วิธีการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัส เป็นระยะเวลา 84 วัน (ตามอาการของน้องแมว)

  • ยาต้านไวรัส GS-441524 มีทั้งแบบฉีดและแบบทาน

  • ยาต้านไวรัส Molnupiravir แบบทาน

ทั้งนี้การให้ยาต้านไวรัสนั้นจะขึ้นอยู่กับอาการของน้องแมว ถ้าหากว่าอาการยังไม่หนักมาก การใช้ Molnupiravir ก็อาจจะได้ผลอย่างไรก็ตามการใช้

Molnupiravir ยังไม่มีงานวิจัยในระยะยาวว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรกับน้องแมว เนื่องจากเพิ่งจะมีการใช้ในปี 2023 นี้ ส่วนการใช้ยาต้ายไวรัสแบบฉีดอย่าง GS-441524 มีการใช้มาหลายปีแล้ว

และมีงานวิจัยและผลระยะยาวหลังจากจบการรักษา พบว่าน้องแมวกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ

อย่างไรก็ตามยาต้านไวรัสมีหน้าที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเท่านั้นแต่ผลเสียที่หรืออาการที่เกิดขึ้นจากโรค FIP อย่างเช่น โลหิตจาง, อาการอักเสบภายใน นั้นจะต้องรักษาตามอาการควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็น การให้บำรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นเลือดหรือตับ การเจาะน้ำออกในกรณีที่น้ำบริเวณปอดส่งผลทำให้น้องแมวหายใจลำบาก

การใช้ยาต้านไวรัสอย่าง GS-441524 แสดงให้เห็นว่าสามารถรักษาชีวิตน้องแมวไว้ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นโรค FIP จะคล้ายๆ กับ COVID-19 ในมนุษย์ แม้ว่าเราจะรับวัคซีนเข้าไปแล้ว รวมถึงกระตุ้นก็แล้ว แต่ก็ไม่สามารถป้องกันให้ไม่ติด COVID-19 ได้ เพียงแต่บรรเทาอาการจากหนักให้เป็นเบา จนกระทั่งหายเชื้อหายไปเองจากภูมิคุ้มกัน ซึ่งการรักษาก็จะคล้ายๆกันคือ การให้ยาต้านไวรัส คู่กับรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น

โดยการเลือกใช้ยาต้านไวรัสแบบฉีดหรือแบบทานนั้นขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของน้องแมวถ้าหากทานแล้ว 7 วันอาการไม่ดีขึ้นควรพิจารณาให้ใช้แบบฉีดแทน
หรือกรณีที่น้องแมวมีอาการทรุดหนักแล้วใช้ GS-441524 แบบฉีดจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากยาจะดูดซึมได้ดีกว่าและส่งผลกับตับน้อยกว่า

เนื่องจากยาแบบฉีดร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่าและปริมาณโดสที่ได้รับต่อวันจะแม่นยำกว่าแบบทาน เนื่องจากแบบทานมีการแบ่งยาหรือผสมกับอาหารให้

หากมีข้อสงสัยหรือสงสัยว่าน้องแมวจะป่วยเป็น FIP หรือกำลังกาวิธีการรักษา สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้



ดู 2,879 ครั้ง
bottom of page