top of page

Molnupiravir และ GS-441524 ต่างกันอย่างไร เลือกทางไหนดีสำหรับการรักษาโรค FIP

2 cat wearing a doctor suit hugging each other

การรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอับเสบในแมวหรือ FIP นอกจากการรักษาตามอาการแล้ว ปัจจุบันมีการใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาโดยปัจจุบันมียาต้านไวรัส 2 แบบ ได้แก่ GS-441524 และ โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ซึ่ง GS-441524 เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2019 หรือ 4 ปีมาแล้ว แต่ โมลนูพิราเวียร์เป็นอีกทางเลือกที่เพิ่งจะมีการเริ่มใช้ในปี 2023 โดย GS-441524 จะมีทั้งแบบฉีดและแบบเม็ดแคปซูล ส่วนโมลนูพิราเวียร์ ก็เช่นเดียวกัน โดยหลักๆแล้วจุดที่แตกต่างกันระหว่างยาทั้ง 2 ชนิดมีดังนี้

GS-441524

  • การทำงาน: ทำหน้าในการลดการแบ่งตัวของไวรัส(Nucleotide analog มีฟอสเฟต) ซึ่งวิธีนี้นั้น สามารถใช้ได้ผลกับ FIP ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบเปียก, แบบแห้ง หรือแบบแห้งขึ้นระบบประสาทและดวงตา

  • รูปแบบการใช้ยา: ให้ใต้ชั้นผิวหนัง ได้ทั้งฉีด หรือ ให้ผ่านน้ำเกลือ ทำให้ดูดซึมยาได้ดีกว่ายาแบบกิน

  • ผลค้างเคียง: นอกจากจะมีผลต่อผิวหนังบริเวณฉีด(จะหายหลังจากหยุดฉีด) จะส่งผลต่อตับแต่ไม่สูงถึงขนาดเป็นโรคตับ

Molnupiravir

  • การทำงาน: Monulpiravir ทำหน้าที่ในการรบกวนการแบ่งตัวของไวรัส (Ribonucleoside analog) เช่นเดียวกันแต่ แต่ไม่มีฟอสเฟต มีประสิทธิภาพในการใช้ยาได้ผลกับ ช่วงที่เริ่มเป็นและ FIP แบบเปียกในบางตัว แต่ในส่วนของแบบแห้งนั้นจะไม่ค่อยได้ผล

  • รูปแบบการใช้ยา: Molnupiravir is typically administered orally in capsule form.

  • ผลค้างเคียง: ในส่วนของผลข้างเคียง พบว่ามีอาการท้องเสีย อาเจียน และเบื่ออาหาร หรือหากให้มากไปจะส่งผลกับไขกระดูก

Feature

GS-441524

Monulpiravir

รูปแบบ

ฉีดใต้ผิวหนังและเม็ด

เม็ดแคลซูล

ผลข้างเคียง

  • มีแผลบริเวณที่ฉีดเนื่องจากกรด (จะค่อยๆดีขึ้นหลังเลิกฉีด)

  • ค่าตับ(ไม่สูงจนเป็นโรค เป็นปกติของการให้ยาเกือบทุกชนิด)

  • ค่าตับ(ไม่สูงจนเป็นโรค เป็นปกติของการให้ยาเกือบทุกชนิด)

  • ไขกระดูกถูกทำลายถ้าได้รับมากเกินไปต้องคอยตรวจเป็นระยะ ส่งผลทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้

  • ระยะยาวยังไม่มีงานวิจัยบอกว่าจะส่งผลอย่างไร

ประสิทธิภาพ

  • ครอบคลุมทุกอาการของโรค FIP

  • อัตตราการตอบสนองสูงและ อัตตราความสำเร็จในการรักษาสูง

  • เหมาะสำหรับ FIP ระยะแรกที่อาการยังไม่หนักมาก

  • อัตตราการรักษายังไม่แน่ชัด ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของน้องแมว ส่วนใหญ่จะได้ผลกับน้องที่ยังอาการไม่หนัก

ราคา

แพงกว่า Monulpiravir เนื่องจาก Monulpiravir สามารถผลิตได้ภายในประเทศ

ถูกกว่า หรือเท่ากันในบางประเทศ

การใช้

*สำหรับแบบฉีดอาจจะต้องให้สัตวแพทย์เป็นผู้ฉีดถ้าไม่สามารถฉีดเองได้ (ฉีดวันละครั้ง)


กรณีที่ป้อนยายากก็ต้องให้สัตวแพทย์หรือผู้ช่วยป้อนยาและส่วนใหญ่ป้อน 2 ครั้งต่อวัน

ระยะเวลาการรักษา

อย่างน้อย 84 วัน

อย่างน้อย 84 วัน (ยังไม่ยืนยัน)

ระยะเวลาการตอบสนอง

ภายใน 7 วัน

ระหว่าง 14 - 30 วัน

ควรจะเลือกแบบไหนดี

การเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

  • รูปแบบของ FIP: GS-441524 สามารถใช้กับโรค FIP ได้ทุกอาการ, ในขณะที่ Molnupiravir จะได้ผลดีสำหรับ FIP ระยะแรก

  • อาการของน้องแมว: ในกรณีที่น้องแมวมีค่าตับสูงหรืออาการทรุดลงไปมากแล้ว GS-441524 ก็จะตอบโจทย์มากกว่า เนื่องจากการดูดซึมยาจะได้ดีกว่าแบบทาน โดยเฉพาะหากน้องแมวเป็นโรคลำไส้อักเสบไม่ว่าจะเป็นแบบฉีดหรือแบบทานอาจจะไม่ได้ผล

  • การสังเกตอาการ: แม้ว่าเริ่มการรักษาไปแล้ว ถ้าหากไม่ได้ผลก็ควรจะเปลี่ยนมาใช้อีกรูปแบบ โดยเฉพาะแบบทานเนื่องจาก การดูดซึมยาต่ำกว่าแบบฉีด กรณีที่น้องแมวไม่ตอบสนองกับยาก็ควรจะลองอีกรูปแบบ

หากพบว่าน้องแมวป่วย มากกว่า 5 วันให้รีบไปพบสัตวแพทย์โดยทันที หากวินิจฉัยโรคได้เร็วโอกาสที่จะรักษาให้หายก็จะสูง เพราะว่าการรักษาโรค FIP นั้นต้องแข่งกับเวลา


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ดู 620 ครั้ง
bottom of page